บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) “บริษัท” กำหนดให้มีนโยบายการกำกับดูแลข้อมูลที่ครอบคลุมด้านการกำหนดบทบาทหน้าที่ของโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Structure) เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งเป็นทรัพย์สินสารสนเทศที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสนับสนุนแผนธุรกิจ ให้ได้รับการดูแลอย่างดี มีความเหมาะสมตามมาตรฐานสากล และเป็นไปตามลักษณะการดำเนินธุรกิจ ความซับซ้อน ความเสี่ยงของบริษัท
1.1 วัตถุประสงค์
1.2 ขอบเขตของนโยบาย
นโยบายฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับข้อมูลของบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (“บริษัท”) และบริษัทย่อย บุคลากรของบริษัทและผู้ให้บริการภายนอกที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่สนับสนุน ดำเนินการและปฏิบัติตามกรอบการกำกับดูแลข้อมูลอย่างเคร่งครัด
1.3 วันที่มีผลบังคับใช้
นโยบายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ
1.4 ความถี่ในการทบทวน และการแก้ไขปรับปรุงนโยบาย
นโยบายฉบับนี้จะต้องได้รับการทบทวนทุก 1 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสําคัญแก่การทบทวนแก้ไขปรับปรุง
ทั้งนี้ การแก้ไขปรับปรุงที่มีนัยสําคัญ การทบทวน หรือการต่ออายุนโยบายฉบับนี้ จะต้องได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้ การแก้ไขปรับปรุงที่ไม่มีนัยสําคัญจะต้องได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการจัดการ (“Management Committee: MC”) และ/หรือคณะกรรมการชุดย่อยที่เกี่ยวเนื่อง ก่อนนำรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อทราบตามลำดับ
1.5 ผู้รับผิดชอบนโยบาย
ฝ่ายงานดิจิทัลอินโนเวชั่น เป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการนโยบายฉบับนี้
2.1 คำนิยาม
2.1.1 | “บริษัท” หมายถึง บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จํากัด (มหาชน) | |
2.1.2 | “บริษัทย่อย” หมายถึง บริษัทที่บริษัทถือหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เกินร้อยละ 50 หรือ มีอำนาจควบคุมกิจการ | |
2.1.3 | “การกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Structure)” หมายถึง กระบวนการในการกำหนด ทิศทาง มาตรการควบคุม และสอบทานการบริหารจัดการข้อมูล เพื่อให้บริษัทดำเนินการบริหารจัดการข้อมูล ตามนโยบาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่กำหนดไว้ การกำกับดูแลข้อมูลที่ดีก่อให้เกิดการบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ข้อมูลมีความมั่นคงปลอดภัย มีคุณภาพ และสร้างผลลัพธ์ที่ดีต่อการดำเนินงาน | |
2.1.4 | “เจ้าของข้อมูล (Data Owner)” หมายถึง บุคลากรหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ในการบริหารจัดการและควบคุมชุดข้อมูล | |
2.1.5 | บริกรข้อมูล (Data Steward)” หมายถึง บุคลากรผู้ปฏิบัติงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทที่เกี่ยวข้องและชำนาญในข้อมูลนั้น ๆ มีหน้าที่ในการกำกับดูแลข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลนั้นเป็นไปตามนโยบาย กรอบ มาตรฐาน และกระบวนการของบริษัท โดยประกอบด้วย บริกรข้อมูลด้านธุรกิจ(Business Data Steward) บริกรข้อมูลด้านเทคนิค (Technical Data Steward) และบริกรข้อมูลด้านกฎหมาย (Legal Data Steward) | |
2.1.6 | “วงจรชีวิตของข้อมูล (Data Life Cycle)” หมายถึง ลำดับขั้นตอนของข้อมูลตั้งแต่การเริ่มสร้างข้อมูลไปจนถึงการทำลายข้อมูล ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การสร้าง (Create) 2. การจัดเก็บ (Store) 3. การประมวลผลและการใช้ (Process and Use) 4. การเปิดเผยและการรักษาความลับ (Disclosure and Confidentiality) 5. การเก็บถาวรและการทำลาย (Archive and Destroy) | |
2.1.7 | “คำอธิบายข้อมูลหรือเมทาดาตา (Metadata)” หมายถึง ข้อมูลที่ใช้อธิบายข้อมูลหลักหรือกลุ่มข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งกระบวนการเชิงธุรกิจและเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้รายละเอียดถึงเงื่อนไข ข้อจำกัดของข้อมูล และโครงสร้างของข้อมูล ช่วยให้บริษัทสามารถเข้าใจข้อมูลระบบ และขั้นตอนการทำงานได้ดียิ่งขึ้น | |
2.1.8 | “การบริหารจัดคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata Management)” หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหรือควบคุมคำอธิบายชุดข้อมูล เพื่อให้สามารถมั่นใจว่าคำอธิบายข้อมูลสามารถมีการเข้าถึง แบ่งปัน เชื่อมโยง วิเคราะห์ และบูรณาการให้เกิดประสิทธิผลทั่วทั้งบริษัท | |
2.1.9 | “คุณภาพข้อมูล (Data Quality)” หมายถึง ตัวชี้วัดเชิงปริมาณของความพร้อมใช้ข้อมูลอย่างมีประโยชน์ โดยมี 6 องค์ประกอบได้แก่ ความถูกต้อง (Accuracy) ความครบถ้วน (Completeness) ความสอดคล้องกัน (Consistency) ความเป็นปัจจุบัน (Timeliness) ความเป็นเอกลักษณ์ (Uniqueness) และตรงตามความต้องการ (Relevancy) | |
2.1.10 | “การบริหารจัดคุณภาพข้อมูล (Data Quality Management)” หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ และการควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการปรับปรุง เพื่อให้ข้อมูล มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ สามารถนำไปใช้ประกอบการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม |
2.2 หลักการทั่วไป
นโยบายฉบับนี้จัดทําขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าการดําเนินงานของบริษัททางด้านการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance) และการสนับสนุนวิสัยทัศน์องค์กรและเป้าหมายทางธุรกิจเพื่อนำไปสู่การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน มีความมั่นคงปลอดภัย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ครอบคลุมการบริหารจัดการวงจรชีวิตของข้อมูล และการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม นำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization) โดยให้สอดคล้องกับกฎหมาย ประกาศ ระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
2.3 บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
อ้างอิงตามกรอบปฎิบัติงานด้านการกำกับดูแลข้อมูลของบริษัทฯ
2.4 ข้อกำหนดด้านการกำกับดูแลข้อมูล
2.4.1 | จัดให้มีการกำหนดบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของ กลุ่มบุคคล และบุคคล ตามโครงสร้างการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Structure) ของบริษัท ได้แก่ เจ้าของข้อมูล (Data Owner) บริกรข้อมูล (Data Steward) และ ผู้ใช้ข้อมูล (Data User) ให้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างเคร่งครัด | |||||||||||||||||||||
2.4.2 | จัดให้มีกรอบและมาตรฐานการปฏิบัติงานภายใต้นโยบายฉบับนี้ ให้มีความเหมาะสมและรัดกุม ครอบคลุมด้านการบริหารจัดการข้อมูลให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน มีความมั่นคงปลอดภัย คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ครอบคลุมการบริหารจัดการวงจรชีวิตของข้อมูล และการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยประกอบไปด้วยหัวข้อ ดังนี้
|